ช้างไทยที่เราพบเห็นหรือเรียกว่าช้างไทยนั้น จริงๆแล้วคือ ช้างเอเชีย สายพันธุ์อินเดีย (Elephas maximus indicus)
ซึ่งช้างอินเดีย ยังพบในอีกหลายๆประเทศด้วยกัน ( อินเดีย บังกลาเทศ ภูฐาน เนปาล เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีน มาเลเซีย และไทย )
ในประเทศไทยนั้นเรียกสายพันธุ์นี้ ว่า “ช้างไทย” และได้มีการจำแนกลักษณะช้าง ตัวผู้และตัวเมียออก
โดยหลักๆจะดูจากงา และเพศ ซึ่งสามารถจำแนกได้ตามนี้ ช้างสีดอ คือ ช้างเพศผู้ ที่ไม่มีงา /ช้างพลาย คือ ช้างเพศผู้ ที่มีงา /ช้างพัง คือ ช้างเพศเมีย
นอกจากงาและเพศแล้วยังสามารถสังเกตได้จากจุดอื่นๆได้อีก เช่น ส่วนหัว ตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมีย และมีฐานงวงนูนโป่งกว่าตัวเมีย
ส่วนหลังและบั้นท้าย เมื่อสังเกตจากด้านข้าง ช่วงบั้นท้ายของตัวผู้จะค่อยๆโค้งลาดลง ในขณะที่ของตัวเมียจะหักตรงลงมา
ถุงหุ้มอวัยวะเพศ โดยถุงหุ้มอวัยวะเพศของตัวผู้จะเรียวแหลมลงมา และวางตัวขนานกับท้อง บางครั้งจะเห็นอวัยวะเพศออกมาจากช่องท้องด้วย , ต่างจากตัวเมียถุงหุ้มอวัยวะเพศจะยาวลู่ลงมาในแนวดิ่งที่บริเวณขาหลังเต้านม ช้างตัวเมียจะมีเต้านมระหว่างขาคู่หน้า เต้านม จะเต่งนูนขึ้นจนสังเกตเห็นได้ชัดการตกมัน หลังจากช่วงที่ช้างได้กินอาหารอย่างอุดมสมบูรณ์ช้างตัวผู้ มักจะมีอาการตกมัน โดยจะมีของเหลวข้นกลิ่นแรง ไหลออกมาจากต่อมบริเวณขมับ (Temporal gland) ย้อยลงมาบริเวณแก้มเห็นเป็นแถบสีดำ